หลักฐาน ของ เหตุการณ์ 4.2 พันปี

แผนภูมิอุณหภูมิบริเวณตอนกลางของกรีนแลนด์ ซึ่งไม่เหมือนกับเหตุการณ์ 8.2 พันปี โดยเหตุการณ์ 4.2 พันปีนั้นไม่มีสัญญาณที่เด่นชัดในแกนน้ำแข็ง Gisp2 ใน 4.2 พันปีก่อนปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]

ช่วงแล้งอย่างรุนแรงเมื่อประมาณ 4.2 พันปีก่อนปัจจุบันนั้นถูกบันทึกไว้ทั่วแอฟริกาเหนือ[8] ตะวันออกกลาง[9] ทะเลแดง[10] คาบสมุทรอาหรับ[11] อนุทวีปอินเดีย[5] และตอนกลางของทวีปอเมริกาเหนือ[12] โดยธารน้ำแข็งทั่วทั้งเทือกเขาของด้านตะวันตกของประเทศแคนาดาได้เคลื่อนมาในช่วงเวลานั้น[13] โดยหลักฐานยังถูกพบในถ้ำหินพอกของประเทศอิตาลี[14] พืดน้ำแข็งคิลิมันจาโร[15] และน้ำแข็งธารน้ำแข็งแอนดีสด้วย[16] ลักษณะของความแห้งแล้งในเมโสโปเตเมียนั้นเริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณปี 4100 ก่อนปัจจุบัน ซึ่งใกล้เคียงกับเหตุการณ์การเย็นตัวลงในแอตแลนติกเหนือ เรียกว่า เหตุการณ์บอนด์ 3[2][17][18] อย่างไรก็ตาม ภูมิศาสตร์ของตัวอย่างเหล่านี้มีความหลากหลาย และหลักฐานของเหตุการณ์ 4.2 พันปีในยุโรปเหนือก็มีความคลุมเครือ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าต้นกำเนิดและผลกระทบของเหตุการณ์นี้นั้นค่อนข้างซับซ้อน[19]

ในปี 2561 คณะกรรมาธิการการลำดับชั้นหินสากลได้แบ่งสมัยโฮโลซีนออกเป็นสามยุค[20] โดยตอนปลายของสมัยโฮโลซีนที่ประมาณ 2250 ปีก่อนคริสต์ศักราชขึ้นมานั้นถูกกำหนดเป็นช่วงอายุ/หินช่วงอายุเมฆาลายัน[21] มีขอบของชั้นหินแบบฉบับเป็นหินถ้ำในถ้ำ Mawmluh ในประเทศอินเดีย[22] และชั้นหินแบบฉบับแทรกทั่วโลกคือแกนน้ำแข็งจากภูเขาโลแกนในประเทศแคนาดา[23] อย่างไรก็ตาม เหตุผลสำหรับการแบ่งนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ใช่ภัยแล้งระดับโลก และไม่มีระยะเวลาการเกิดที่ชัดเจน โดยเจสสิกา เทียร์นีย์ นักบรรพภูมิอากาศวิทยา มหาวิทยาลัยแอริโซนาในทูซอน สหรัฐ ได้กล่าวว่าการเสนอการแบ่งใหม่นั้นผิดพลาด "โดยเป็นการรวบรวมเอาหลักฐานด้านความแห้งแล้งและช่วงเปียกชื้นอื่น ๆ ซึ่งบางครั้งก็เกิดขึ้นห่างกันไปหลายศตวรรษ"[7]

ใกล้เคียง

เหตุการณ์ 6 ตุลา เหตุการณ์ 14 ตุลา เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคเพอร์เมียน–ไทรแอสซิก เหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิส พ.ศ. 2551 เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553 เหตุการณ์ นปช. ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 เหตุการณ์แก๊สระเบิดที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ พ.ศ. 2533 เหตุการณ์ทุจริตการออกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2544 เหตุการณ์ 4.2 พันปี เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน

แหล่งที่มา

WikiPedia: เหตุการณ์ 4.2 พันปี http://indianexpress.com/article/opinion/columns/a... http://www.livescience.com/20614-collapse-mythical... http://green.blogs.nytimes.com/2012/05/29/an-ancie... http://www.ldeo.columbia.edu/res/pi/arch/examples.... http://rivernet.ncsu.edu/courselocker/PaleoClimate... http://www.igme.es/boletin/2014/125_4/5_%20Articul... http://revistas.ucm.es/index.php/ILUR/article/view... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11303088 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12386332 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17739611